วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้ประเภทวัฒนธรรม ประเพณี พื้นบ้าน


ครกหิน อ่างศิลา






        ลักษณะภูมิประเทศตำบลอ่างศิลา ประกอบด้วยหินอัดเป็นประเภทหินแกรนิตและหินทราย หินแกรนิตที่พบแทรกตัวขึ้นมาสลับระหว่างหินชันซึ่งพบมากตามแหล่งที่เป็นเขา ติดกับฝั่งทะเล และจากการที่มีหินแกรนิตซึ่งมีสีขาวนวล, สีเหลืองอ่อนและมีความแข็งแกร่งจำนวนมากที่ตำบลอ่างศิลาทำให้เกิดอาชีพการท ครกหินและกลายเป็นสัญญลักษณ์ของหมู่บ้านชาวประมงอ่างศิลา
            สภาพหมู่บ้านตำบลอ่างศิลาเดิมเรียกว่า “อ่างหิน” เนื่อง จากมีอ่างหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านอาชีพที่สำคัญของชาวตำบลอ่างศิลา นอกจากการทำประมงทางทะเล ทอผ้าแล้วอาชีพที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาชีพแกะสลักหิน เมื่อกล่าวถึง “อ่างศิลา” สิ่ง แรกที่คนทั่วไปจะนึกถึงก็คือครกหิน เพราะครกหินเป็นสัญญลักษณ์ของสินค้าพื้นเมือง ที่นำชื่อเสียงมาให้แก่ชาวตำบลอ่างศิลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจาก ครกหินอ่างศิลามีจุดเด่นอยู่ที่หินมีความแข็งแกร่งตำแล้วไม่เป็นทรายและมีสี ขาวนวลหรือเหลืองอ่อนนอกจากการทำครกหินแล้วชาวตำบลอ่างศิลายังนำหินมาแกะ สลักเป็นรูปต่าง ๆเช่นรูปเจ้าแม่กวนอิม พระพุทธรูป ซึ่งมีความสวยงามมาก
มีคนจีนอพยพและมาอาศัยอยู่ในตำบลอ่างศิลาซึ่งต้องการทำของต่าง ๆ เช่น อาหารขนมเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่มีส่วนผสมที่ทำมาจากข้าวแล้วนำมาบดให้ ละเอียดเป็นแป้ง คนจีนเหล่านั้นจึงหาวิธีที่จะนำหินมาทำโม่เพื่อโม่แป้งและเห็นว่าอ่างศิลามี หินที่เหมาะสมที่จะทำโม่ จึงสกัดหินมาเพื่อใช้ทำโม่ และเมื่อมีเศษหิน เหลือชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ไม่สามารถทำโม่ได้แล้วจึงลองนำมาทำครกหินดูเพื่อ ใช้ตำน้ำพริก และหรือบดของอื่น ๆจนกระทั่งกลายมาเป็นของใช้ประจำบ้านอย่างหนึ่งแต่เดิมครกที่ทำที่ตำบลอ่าง ศิลาจะไม่มีการซื้อขายครกกันในพื้นที่ของตำบลแต่จะนำไปส่งขายที่ กรุงเทพฯหรือ ต่างจังหวัด ดังนั้นชื่อเสียงของครกหินอ่างศิลาจึงเป็นที่รู้จักของชาว กรุงเทพฯและคนในจังหวัดอื่น ๆ เป็นอย่างดี
                        ต่อมาความต้องการสินค้าประเภทครกหินเพิ่มมากขึ้นอาชีพการทำครกหินก็มากขึ้น จนบ้านอ่างศิลา ได้ถูกสกัดหินนำมาใช้จนหินมีปริมาณเหลือน้อย ดังนั้น จึงนำหินจากต่างจังหวัดเข้ามาทำครกหินกันในตำบลอ่างศิลา รวมทั้งมีการปรับปรุงรูปแบบและมีเอกลักษณ์เป็นการเฉพาะตัวคือ “ครกหินอ่างศิลาจะต้องมีสองหู” เท่านั้น 


ขั้นตอนการทำและการผลิต



วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. หินแกรนิต 
2. สิ่ว
3. ไม้บรรทัด
4.ลิ่ม
5. ฆ้อน
6. เครื่องเจียร

ขั้นตอนการผลิต 
1. นำหินมาสกัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม กลึงให้เป็นรูปทรงครก
2. นำมาขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบ
3. เมื่อได้รูปทรงที่สวยงามแล้ว ทาแลคเกอร์เพื่อจำหน่าย




เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

       หินที่นำมาสกัดต้องเป็นหินแกรนิต เช่นหินดำ หินเขียว เมื่อนำมาสกัดเป็นครกหิน นำไปใช้ไม่มีทราย ครกหินอ่างศิลาแท้ มี 2หู สกัดด้วยมือ

การเดินทาง




"มา เที่ยวชายหาดบางแสนจนสบายใจไปกับไก่ย่างเหลืองกรอบริมหาด ซัดข้าวหลามหวานมันอิ่มแปล้ไปแล้ว ถ้าพลังงานยังเหลือเฟือ นั่งรถต่อไปทางเขาสามมุข            พอรถผ่านพ้นชายหาดบางแสนไปซักพัก ผ่านพ้นไฟแดงใหญ่ไปอีกนิด จะเจอร้านขายผลิตภัณฑ์จากหินร้านใหญ่ ตั้งอยู่สองฝั่งข้างทาง ชื่อร้านเดียวกันว่า รุ่งเรืองศิลาทิพย์  ถ้ามาจากชายหาดบางแสน ฝั่งขวามือจะเห็นครกหินยักษ์ ตั้งตระหง่านอยู่ด้านหน้า มีข้อความเขียนไว้ว่า "ครกหินใหญ่ที่สุดในโลก" 

คลิปเพิ่มเติม


ที่มา : http://fusionstone.blogspot.com/

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว




ความเป็นมา

     สวนสัตว์เป็นสถานที่ที่มีความผูกพันกับคนไทยมานานกว่า 60 ปี แล้ว หากจะแตกต่างไปบ้าง ก็คือ จำนวนของสวนสัตว์ที่มีเพิ่มขึ้นในภูมิภาคของประเทศและการนำเสนองานบริการที่มีการ ผสมผสานความรู้ หลักวิชาการและศาสตร์ต่างๆ จนทำให้สวนสัตว์มีขีด ความสามารถในการใช้ ประโยชน์จากสังคมมากกว่าแต่ก่อน

สวนสัตว์ของรัฐให้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและจิตใจของประชาชน ในด้านการนันทนาการและการเป็นแหล่งเรียนรู้แบบตลอดชีวิตและในความเป็นเลิศของ การเป็นมืออาชีพที่พัฒนาความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศจนสามารถนำมาซึ่ง รายได้จากนักท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาประเทศชาติ อย่างมีเกียรติเป็นที่ชื่นชมของคนทั่วไปการพัฒนาสวนสัตว์แบบบูรณาการ โดยยึดผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ สวนสัตว์ที่สวยงาม ร่มรื่น มีสัตว์ที่หลากหลายชนิด สามารถสื่อความหมายของธรรมชาติและชีวิต สัตว์ป่า เมื่อได้มาเยี่ยมชม จนเป็นที่ชื่นชอบและมาเที่ยวกัน ต้องใช้ทั้งเวลาและงบประมาณ จำนวนมาก บางครั้งอาจถึงชั่วอายุคนเราก็ว่าได้ ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับสวนสัตว์และมีการสร้างสวนสัตว์ใหม่ๆขึ้นมามากกว่า 1,000 แห่ง ในเอเซีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย โดยในปีหนึ่งๆ มีคนมาเที่ยวสวนสัตว์กันมากว่า 1 หน จนกล่าวได้ว่าสวนสัตว์กำลังจะเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตคนเราไปแล้วการดำเนินงานให้บริการสังคมของสวนสัตว์กำลังผ่านเข้าสู่รอยต่อของวิวัฒนาการของสวนสัตว์ สมัยใหม่อีกช่วงหนึ่งโดยสามารถสัมผัสได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมเข้ากันไว้ด้วยวัฒนธรรมใหม่และการเปลี่ยน แปลงของวิถีการดำเนินชีวิตของสังคม ทั้งทางด้านพฤติกรรม ค่านิยมระบบการปฏิรูปการศึกษา เทคโนโลยี และความต้องการที่จะปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมใน แบบยั่งยืนการดำเนินงานของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวยังคงดำเนินการตามนโยบายหลัก 4 ประการ คือ การอนุรักษ์สัตว์ป่า การให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัยและการเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มาโดยตลอด ในปัจจุบันงานทุกด้านเป็นกลไกสำคัญสนับสนุนซึ่งกันและกัน กล่าวได้ว่ามีการพัฒนา เป็นรูปธรรม ชัดเจนมากขึ้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางสังคมและทำให้สวนสัตว์มีคุณค่าจนเป็นที่ยอมรับ


ลักษณะการดำเนินงาน

ลักษณะการดำเนินการของสวนสัตว์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. ส่วนแสดง คือ ส่วนหรือพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ป่านานาชนิด ลักษณะคอกสัตว์แต่ละชนิด จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมโดยให้มีสภาพที่ได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุดเพราะส่วนที่สวนสัตว์์ จะเปิดให้ผู้เที่ยวชมสามารถเดินชมภายในได้อย่างใกล้ชิด เช่น สวนกวาง กรงนกใหญ่และบริเวณเลี้ยงสัตว์อื่นๆ พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่

2. ส่วนศึกษาและวิจัย คือส่วนหรือพื้นที่บริเวณกว้าง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าตามธรรมชาติ ที่มีอยู่เดิม สภาพพื้นที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และฟื้นฟูของป่าหลายประเภทเพื่อจะให้เป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหารของสัตว์ป่าในธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ทางด้านงานวิจัยจะเป็นพื้นที่โครงการ
ศึกษาวิจัย และขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากและสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อันได้แก่ โครงการนกกาบบัว - นกกระทุงคืน สู่ธรรมชาติ โครงการฝึกสัตว์เพื่อนำกลับสู่ธรรมชาติ โครงการศึกษา - วิจัยพันธุ์ไม้ป่า เป็นต้น ดังนั้นบริเวณนี้จะไม่อนุญาต ให้บุคคลทั่วไปเข้ามาเที่ยวชม มีพื้นที่รวมประมาณ 3,500 ไร่
3. ส่วนบริการ เป็นพื้นที่นอกเหนือจากส่วนแสดงและส่วนศึกษาวิจัย จัดไว้ให้บริการผู้เที่ยวชม โดยมีส่วนของสถานที่สำหรับพักผ่อน รับประทานอาหารกลางแจ้ง อ่างเก็บน้ำ ศูนย์ให้การศึกษาสวนพฤกษศาสตร์ ศาลาเอนกประสงค์ พื้นที่รวมทั้งสิ้น ประมาณ 500 ไร่ปัจจุบันสวนสัตว์เปิดเขาเขียวตั้งอยู่เลขที่ 235 หมู่ที่ 7 ต . บางพระ อ . ศรีราชา จ . ชลบุรี สังกัด องค์การ สวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีสัตว์อยู่ในความดูแล มากกว่า 300 ชนิด จำนวนมากกว่า 8,000 ตัว เป็นสถานที่พักผ่อน หย่อนใจและให้การศึกษาที่ใกล้เมืองและ ใกล้สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญบริเวณเมืองพัทยาและบางแสน





ค่าเข้าชม

ผู้
ผู้ใหญ่
  70 บาท
เด็ก
15 บาท
นักเรียนในเครื่องแบบ
15 บาท
นักเรียนอนุบาล-ประถม
15 บาท
นักเรียนมัธยมต้น-มัธยมปลาย
15 บาท
ปวช-มหาวิทยาลัย
30 บาท
ทหาร-ตำรวจในเครื่องแบบ
30 บาท
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป คนพิการ
ภิกษุ สามเณร
ฟรี
รถจักรยานยนต์
10 บาท
รถยนต์
50 บาท
รถบัส
60 บาท



วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ที่รับจากการไปทัศนศึกษา

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


 ประโยชน์ที่รับ 
          เรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ 
          - นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดย ให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล คือ แพลงก์ตอนซึ่งมีบทบาทสำคัญของห่วงโซ่อาหารในทะเล สาหร่าย และหญ้าทะเล ฟองน้ำ สัตว์ที่มีโพรงลำตัว เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์จำพวกหนอนทะเล เช่น หนอนตัวแบนหนอนปล้อง หนอนริบบิ้น เป็นต้น สัตว์จำพวกหอย เช่น หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หมึก และหอยงวงช้าง เป็นต้น สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล เช่น ปู กุ้ง กั้ง และแมงดาทะเล เป็นต้น สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล เช่น เพรียงหัวหอม แอมฟิออกซัส และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาทะเล โลมา พะยูน เต่าทะเล และจระเข้น้ำเค็ม รวมทั้งเรื่องราวของทะเล และสิ่งมีชีวิตในทะเลยุคดึกดำบรรพ์ เป็นต้น 

         - นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น

          - นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออัปปางเกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น

          -  ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ลิ่นทะเล หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หอยงวงช้าง และหอยงาช้าง เป็นต้น รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก

*******************************************************

หอศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันออก


ประโยชน์ที่ได้รับ
          วัฒนธรรมภาคตะวันออกนอกพบว่ามีคนกลุ่มใหญ่ที่เป็นคนไทยมาแต่เดิมแล้ว ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของคนหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวซอง ซึ่งเป็นชนเผ่าตระกูลมอญ-เขมร ที่อยู่ในเขตป่าเขา ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ประดิษเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เครื่องจักสาน มีกระบุง ตะกร้า และของป่าเอามาแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาหารกับคนในเมือง ส่วน ชาวญวน อพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐานสมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน อยู่ที่แถบบ้านท่าเรือจ้าง เป็นญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ชาวจีนเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีบทบาทด้านการค้า เริ่มจากการค้าทางเรือสำเภามาตั้งแต่ในอดีต ชาวไทยมุสลิม อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส



กลุ่มชนดังกล่าวมีวิถีชีวิตประสมประสานกับคนไทยพื้นถิ่น สื่อสารกันด้วยภาษา วัฒนธรรม และความเชื่อไปในแนวเดียวกัน ผสมกลมกลืน ไม่มีปัญหาขัดแย้งกันแต่อย่างใด ใช้ภาษาไทยอย่างเดียวกัน สำเนียงไทยภาคกลาง แต่จะมีเสียงเพี้ยนไปบ้าง ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา


พื้นที่ของภาคตะวันออกมีขนาดเล็กกว่าภาคอื่น เดิมที่ภาคนี้เรียกรวมกับคนภาคกลาง แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งต่างไปจากภาคกลาง คือผลิตผลและภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ มีลักษณะเด่นเฉพาะ อาชีพในภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นพืชสวนพืชไร่ การประมง พืชสวนที่สำคัญได้แก่ เงาะ ส่วนพืชไร่ มี อ้อย มันสำปะหลัง และสับปะรด


ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกมีเทือก เขาจันทบุรีทอดตัวไปทางตะวันตกจดกับเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งทอดยาวจากเหนือถึงใต้ เป็นเส้นแบ่งอาณาเขตระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย มีแม่น้ำสาย สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำระยอง ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ชายฝั่งทะเลที่เรียบยาวโค้งเว้าท้องทะเลตะวันออกเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่ง ที่สำคัญได้แก่เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ในภาคตะวันออก เกาะเสม็ด เกาะมัน จังหวัดระยอง เกาะล้าน เกาะสีชัง ในจังหวัดชลบุรี ส่วนบริเวณปากแม่น้ำเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนโคลนตม ที่แม่น้ำสายต่างๆ พัดพามา เป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิต


หอศิลปะ และวัฒนธรรมภาคตะวันออกมหาวิทยาลัยบูรพา ที่นี่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ความเป็นมาของอารยธรรมตะวันออก ให้แก่ผู้ที่เข้าชม ได้ทราบเรื่องราวและประวัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิถีการดำรงชีวิต ของผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ รวมถึงได้ทราบกลุ่มชนชาติต่างๆ ที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในแผ่นดินในภาคตะวันออก เหมาะอย่างมากสำหรับคนที่ชื่นชอบศึกษาประวัติศาสตร์ของเรา และที่นี่เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของอาจารย์ในภาควิชาศิลปะ และวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน สมัยที่ยังสังกัดอยู่ในภาควิชาศิลปะ และวัฒนธรรม เป็นความต้องการให้ภาคตะวันออกมีหอศิลป์ เป็นของตนเองเพื่อเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมให้แก่บุคคลทั่วไป




วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล

1. ปราชญ์ชาวบ้าน  พ่อคำเดื่อง   ภาษี   




องค์ความรู้ที่ได้

             พ่อคำเดื่อง  ภาษี ปราชญ์ชาวบ้าน หรือโฟกูโอกะเมืองไทย ผู้ทำการเกษตรแบบธรรมชาติโดยใช้แนวทางการทำนาแบบไม่ไถ่พรวน และทำจนครบวงจร ใช้กลยุทธิในการนำธรรมชาติมาเป็นเครื่องมือ ในการสู้กับธรรมชาติที่เลวร้ายให้กลับมาสู่สมดุล และให้ผลผลิตที่มากกว่าการลงทุน

2. ปราชญ์เดินดิน  อาจารย์เชาว์วัช   หนูทอง  





องค์ความรู้ที่ได้

             อาจารย์เชาว์วัช   หนูทอง  หรือวิศวะเกษตรกร ที่มีแนวคิดว่า เดินที่ละก้าว กินข้าวที่ละคำ ทำทีละอย่าง การพัฒนาต้องทำเป็นพื้นฐาน ให้มั่นคงแข็งแรงเสียก่อน พออยู่ พอกิน พอใช้ แล้วค่อยสร้างค่อยเสริม ให้เเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นผู้คิดค้นการทำนาในร่มโดยทำนาแบบโยนกล้า ทำให้ประหยัดเมล็ดพันธ์ ไม่มีวัชพืชมาทำลายข้าวและไม่มีข้าวดีด ข้าวไม่มีปุ๋ยมาก ปัญหาโรคของข้าวหมดไปเพราะระบบนิเวศช่วยตัวเอง



พ.ร.บการศึกษาแห่งชาติกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

1. หลังศึกษาเนื้อหาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ให้นิสิตทำกิจกรรมดังนี้
     1.1  จากแหล่งการเรียนรู้ 52 แห่งให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ เช่นทรัพยากรธรรมชาติ / อาคารสถานที่ / บุคคล / วิธีการ

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ตลอดชีวิต

           ประเภทอาคารสถานที่

ภาคเหนือ
  1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่                              จังหวัดเชียงใหม่ 
  2. สวนสัตว์เชียงใหม่                                                          จังหวัดเชียงใหม่
  3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้                                                                                   อันเนื่องมาจากพระราชดำริ                                            จังหวัดเชียงใหม่ 
  4. ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติตำบลไทรย้อย                                                              เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง                                           จังหวัดแพร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหาร                             จังหวัดมุกดาหาร
  2. พระธาตุเรืองรอง                                                        จังหวัดศรีสะเกษ
  3. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี                        จังหวัดอุบลราชธานี 
  4. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น                       จังหวัดขอนแก่น
  5. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม                 จังหวัดมหาสารคาม
  6. สวนสัตว์นครราชสีมา                                                    จังหวัดนครราชสีมา
ภาคกลางและภาคตะวันออก
  1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรา                          จังหวัดฉะเชิงเทรา
  2. ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอราชบุรี      จังหวัดราชบุรี
  3. พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย                             กรุงเทพมาหานคร
  4. พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย                                                 จังหวัดนครปฐม
  5. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)       จังหวัดปทุมธานี
  6. เมืองโบราณ                                                                 จังหวัดสมุทรปราการ
  7. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา       จังหวัดชลบุรี
  8. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์                                กรุงเทพมหานคร
  9. หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ                                       กรุงเทพมหานคร
  10. หอศิลปวิทยนิทรรศน์                                                    กรุงเทพมหานคร
  11. สวนสัตว์ดุสิต                                                                กรุงเทพมหานคร
  12. สวนสัตว์เปิดเขาเขียว                                                   จังหวัดชลบุรี
  13. ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                        กรุงเทพมหานคร
  14. หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์         จังหวัดนครนายก
  15. ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษรกรรม                                                                               วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร                                                                                              อันเนื่องมาจากพระราชดำริ                                           จังหวัดชลบุรี
ภาคใต้
  1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช                 จังหวัดนครศรีธรรมราช 
  2. ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี"                           จังหวัดภูเก็ต
  3. สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต                                                                                         สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล                                                                           ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน                                         จังหวัดภูเก็ต
  4. สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย)                              จังหวัดตรัง
  5. สวนสัตว์สงขลา                                                           จังหวัดสงขลา

           ประเภทบุคคล

  1. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี                                                จังหวัดพิษณุโลก
1.2 จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบ 52 แหล่งใหเนิสิตประเมินโดยเลือกมา 1 แหล่ง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี พิษณุโลก


องค์ความรู้


            พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน “จ่าทวี”  เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคลของ จ่าสิบเอก  ดร.ทวี  บูรณเขตต์  ก่อตั้งเมื่อปี 2533  จัดตั้งขึ้นหลังจากที่ท่านได้รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านที่สะสมไว้เป็นจำนวนมากมาจัดแสดง  พร้อมทั้งบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านไทยในอดีตซึ่งบ่งบอกถึงภูมิปัญญาชาวบ้านได้อย่างน่าสนใจ และดำเนินการเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมศึกษาหาความรู้ 
          พิพิธภัณฑ์นี้ก่อกำเนิดขึ้นมาจากน้ำพักน้ำแรงชีวิตจิตใจของ จ่าทวี ชาวบ้านธรรมดาๆ ผู้สร้างตัวเองขึ้นมาจากความยากจน เคยรับราชการทหาร ต่อมาออกจากราชการเพื่อรับจ้างปั้นหล่อพระพุทธรูป จนมีกิจการโรงหล่อพระเป็นของตนเอง และกิจการนี้เองที่ช่วยให้  จ่าทวี พอมีทุนทรัพย์ซื้อหาข้าวของมาเก็บสะสมตลอด 30 ปี 
          ต่อมาปี  2526  จ่าทวี จึงได้ก่อตั้ง “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” ขึ้นตามความตั้งใจ โดยมีจุดประสงค์เพียงเพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้รู้จักรากเหง้าของตนเอง และรู้สึกภาคภูมิกับภูมิปัญญาปู่ย่าตายายของตน 
          พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี มีอาคารจัดแสดงอยู่ 3 หลัง
  • อาคารจัดแสดงหลังแรก  เป็นที่จัดแสดงภาพถ่ายเก่าๆ ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของพิษณุโลก เช่น รูปการออกตรวจราชการในอดีต รูปเหตุการณ์ไฟไหม้เมืองพิษณุโลกเมื่อปี 2500 ฯลฯ
  • อาคารจัดแสดงหลังที่ 2 เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านไทยในอดีตที่ส่วนใหญ่ได้มาจากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง เช่น เครื่องมือจับปลา ดักนก ดักหนู ดักลิง รวมไปถึงเครื่องดนตรี และของเล่นเด็กในสมัยก่อน ทั้งยังมีมุมจำลองส่วนต่างๆ ของบ้านเรือนสมัยก่อน เช่น ครัวไฟ   เรือนอยู่ไฟหลังคลอดบุตร เป็นต้น
  • อาคารจัดแสดงหลังสุดท้าย เป็นที่จัดนิทรรศการชาวโซ่ง หรือที่เรียกกันว่า ลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ ในจังหวัดพิษณุโลก ที่อพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรีมานานนับชั่วอายุคนแล้ว
          พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน “จ่าทวี” เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ดำเนินการโดยชาวบ้าน  แต่ทำด้วยใจรักและตั้งใจจริง  เพื่อใช้สำหรับเรียนรู้ชีวิต ความคิด ความเชื่อ และภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย รวมทั้งยังเป็นการให้กำลังใจและสนับสนุน  ให้ความตั้งใจดีของชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งได้บรรลุตามความใฝ่ฝันส่วนตัว  ที่ไม่ต้องการเก็บความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของคนไทยไว้คนเดียว  แต่ยังต้องการถ่ายทอดเผยแพร่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและสังคมอีกด้วย

กลุ่งเป้าหมาย / กลุ่มผู้เรียนหลัก 
                 
           บุคบลทั่วไปและนักเรียน นักศึกษา

วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน / กลุ่มเป้าหมาย 
            
           ใช้วิธีการจัดแสดง

รูปแบบ / วิธีการ/ เทคนิคการนำเสนอ 

           ใช้รูปแบบนิทรรศการ

มีวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย

          กลุ่มเป้าหมายคือบุคคลทั่วไปและนักเรียน นักศึกษา ที่สนใจเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านไทยในอดีตซึ่งบ่งบอกถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้สัมผัสของจริงจนเกิดการเรียนรู้

สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษา..

           ตามอัธยาศัยพื่อใช้สำหรับเรียนรู้ชีวิต ความคิด ความเชื่อ และภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย โดยเปิดให้เยี่ยมชมได้ต่อเนื่อง ทุกเพศทุกวัย ไม่มีข้อจำกัด
       
           

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

โดยบันทึกมา 5 แหล่ง ในจังหวัดที่นิสิตสนใจ และวิเคราะห์ว่าจัดอยู่ในประเภทใด


1. ท่องเที่ยวสัตหีบ เยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล (ชลบุรี)
ท่องเที่ยวในครั้งนี้เราจะนำท่านมาพบกับ ...การอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลของกองทัพเรือ
ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในอดีตการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลของกองทัพเรือมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 และได้ดำเนินงานเฉพาะเรื่องการเพาะไข่เต่ารวมถึงการอนุบาลลูกเต่าทะเลเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่บริเวณ เกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  วันที่ 17 ตุลาคม 2544 กองทัพเรือได้ยกเลิกคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ต่างๆ นำงานด้านการอนุรักษ์ทั้งหมดที่กองทัพเรือเกี่ยวข้องไว้เป็นสายงานปรกติของโดยมี กรมกิจการพลเรือน ตั้งเป็นหน่วยงานอำนวยการในด้านการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลนี้โดยตรงมี หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นผู้ดำเนินการปฎิบัติตามแผนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลภายใต้นโยบายการรักษาความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ที่กำหนดให้กองทัพเรือเป็นหน่วยปฎิบัติโดยได้จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล ตั้งอยู่ในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน




2. สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ระยอง)
สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด มิติการเรียนรู้ด้านสมุนไพรอย่างสนุกสนาน เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สมุนไพรมากกว่า 20,000 ต้น ( 260 ชนิดโดยจัดกลุ่มจำแนกตามสรรพคุณการรักษาตามคัมภีร์ยาไทยโบราณ 20 กลุ่มอาการ ) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชม พักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาหาความรู้ด้านพฤษศาสตร์และสมุนไพร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาซึงประกอบด้วยห้องประชุมสัมนา ห้องนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย ทั้งที่ควรอนุรักษ์และที่ใกล้ตัวในวิถีชีวิตประจำวัน โดยมีมัคคุเทศก์บรรยายและนำชมตลอดเส้นทาง โดยไม่เสียค่าใช้ใดๆทั้งสิ้น ในส่วนสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะมีการชมโดยรถ NGV ( รถที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ ) โดยมีมัคคุเทศก์บรรยายและนำชมตลอดเส้นทางเช่นเดียวกัน โดยรถ NGV จะออกทุกๆ 30 นาที ( ตามตารางรอบกำหนด ) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้ทางส่วนสมุนไพรฯ ยังได้จัดให้มีร้านค้าส่วนบริการ ได้แก่ ร้านอาหารเครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก และร้านนวดเพื่อสุขภาพ เพื่อบริการนักท่องเที่ยวทั่วไป 
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่  สถาบัน หน่วยงาน





3.พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช (กรุงเทพฯ)
พิพิธภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลศิริราชเริ่มมาจากการเก็บและ จัดแสดงสิ่งของของแต่ละภาควิชา โดยในปีพ.ศ. 2525 มี พิพิธภัณฑ์ที่เปิดรวม 13 แห่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปพิพิธภัณฑ์ คงเหลือเพียง 6 แห่งที่สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มี โอกาสเข้าเยี่ยมชม คือ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร
เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบพื้นที่บางส่วนของสถานีรถไฟธนบุรีจำนวน 33 ไร่ จาก การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นั้นคณะฯเล็งเห็นว่า เพื่อให้วงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการการวิจัย การศึกษา และการบริการ ชั้นเลิศ คณะฯ จึงเสนอโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ต่อรัฐบาล จึงได้ วางแผนการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่สถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศฯ ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 7 โครงการ พิพิธภัณฑ์เป็นหนึ่งในโครงการย่อยเหล่านั้น 
ทั้งนี้คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ ในส่วน ของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชขึ้น เพื่อให้รับผิดชอบดูแลพิพิธภัณฑ์ต่างๆในศิริราชคณะอนุกรรมการฯได้ พิจารณาจัดตั้ง คณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่รวบรวมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ ภาควิชาและหน่วยงาน ต่างๆภายในโรงพยาบาลศิริราชเพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการ ซึ่งทั้งหมดรวมเรียกเป็นพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ในปัจจุบัน
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่  สถาบัน หน่วยงาน



4. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ชลบุรี)

ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นผืนป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดและผืนสุดท้ายของชลบุรี มีเนื้อที่ 300 ไร่ เปิดดำเนินการโดยความร่วมมือของกรมป่าไม้และองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
สำนัก งานป่าไม้จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลน และให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ประชาชน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นสะพานไม้ที่ยาว 2,300 เมตร ซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย
ตลอดเส้นทางความยาว 2,300 เมตร บนสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติของศูนย์ฯ  จะได้พบเห็นความหลากหลายทางธรรมชาติ ของป่าชายเลน ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนและสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ระหว่างทางจะมีศาลา ชีวภาพใต้น้ำ สะพานแขวน และมีบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนเป็นระยะๆ นักท่องเที่ยวจะได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
ศูนย์ศึกษา ธรรมชาติปาชายเลนแห่งนี้ อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว แสมดำ แสมขาว โปรงแดง โปรงขาว ลำพูน และพืชอีกหลายชนิด นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำอีกหลากหลายชนิด ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยนางรม หอยแครง ปูก้ามดาบ ปูแสม ปลานวลจันทร์ ปลากะพงขาว ปลาตีน และนกอีกนานาชนิด
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่  สถาบัน หน่วยงาน


5.ละลุดินแดนมหัศจรรย์
ละลุ เป็นภาษาเขมร แปลว่า ทะลุ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแต่มีพื้นที่กว้างกว่า 2,000 ไร่ ละลุ เกิดจากน้ำฝนกัดเซาะ ยุบตัวหรือพังทลายของดิน เนื่องจากสภาพดินแข็งจะคงอยู่ไม่ยุบตัวเมื่อถูกลมกัดกร่อนจึงมีลักษณะเป็นรูปต่างๆ มองคล้ายกำแพงเมือง หน้าผา บ้างมีลักษณะเป็นแท่งๆ จึงทำให้ละลุมีความสวยงามและแปลกตาแตกต่างกันตามจินตนาการของแต่ละคน อะไร ซึ่งในทุกๆปี ละลุจะเปลี่ยนรูปร่างของมันไปเรื่อยๆ ตามแต่ลมและฝนที่ช่วยกันตกแต่งชั้นดิน และในบางพื้นที่ก็จะมีละลุที่ขึ้นอยู่กลางพื้นที่ทำนาของชาวบ้านซึ่งสีน้ำตาลทองของละลุ ตัดกับสีเขียวสดของต้นข้าว เป็นสิ่งที่สวยงามมาก
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ