วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

โดยบันทึกมา 5 แหล่ง ในจังหวัดที่นิสิตสนใจ และวิเคราะห์ว่าจัดอยู่ในประเภทใด


1. ท่องเที่ยวสัตหีบ เยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล (ชลบุรี)
ท่องเที่ยวในครั้งนี้เราจะนำท่านมาพบกับ ...การอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลของกองทัพเรือ
ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในอดีตการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลของกองทัพเรือมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 และได้ดำเนินงานเฉพาะเรื่องการเพาะไข่เต่ารวมถึงการอนุบาลลูกเต่าทะเลเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่บริเวณ เกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  วันที่ 17 ตุลาคม 2544 กองทัพเรือได้ยกเลิกคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ต่างๆ นำงานด้านการอนุรักษ์ทั้งหมดที่กองทัพเรือเกี่ยวข้องไว้เป็นสายงานปรกติของโดยมี กรมกิจการพลเรือน ตั้งเป็นหน่วยงานอำนวยการในด้านการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลนี้โดยตรงมี หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นผู้ดำเนินการปฎิบัติตามแผนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลภายใต้นโยบายการรักษาความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ที่กำหนดให้กองทัพเรือเป็นหน่วยปฎิบัติโดยได้จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล ตั้งอยู่ในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน




2. สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ระยอง)
สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด มิติการเรียนรู้ด้านสมุนไพรอย่างสนุกสนาน เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สมุนไพรมากกว่า 20,000 ต้น ( 260 ชนิดโดยจัดกลุ่มจำแนกตามสรรพคุณการรักษาตามคัมภีร์ยาไทยโบราณ 20 กลุ่มอาการ ) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชม พักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาหาความรู้ด้านพฤษศาสตร์และสมุนไพร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาซึงประกอบด้วยห้องประชุมสัมนา ห้องนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย ทั้งที่ควรอนุรักษ์และที่ใกล้ตัวในวิถีชีวิตประจำวัน โดยมีมัคคุเทศก์บรรยายและนำชมตลอดเส้นทาง โดยไม่เสียค่าใช้ใดๆทั้งสิ้น ในส่วนสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะมีการชมโดยรถ NGV ( รถที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ ) โดยมีมัคคุเทศก์บรรยายและนำชมตลอดเส้นทางเช่นเดียวกัน โดยรถ NGV จะออกทุกๆ 30 นาที ( ตามตารางรอบกำหนด ) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้ทางส่วนสมุนไพรฯ ยังได้จัดให้มีร้านค้าส่วนบริการ ได้แก่ ร้านอาหารเครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก และร้านนวดเพื่อสุขภาพ เพื่อบริการนักท่องเที่ยวทั่วไป 
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่  สถาบัน หน่วยงาน





3.พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช (กรุงเทพฯ)
พิพิธภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลศิริราชเริ่มมาจากการเก็บและ จัดแสดงสิ่งของของแต่ละภาควิชา โดยในปีพ.ศ. 2525 มี พิพิธภัณฑ์ที่เปิดรวม 13 แห่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปพิพิธภัณฑ์ คงเหลือเพียง 6 แห่งที่สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มี โอกาสเข้าเยี่ยมชม คือ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร
เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบพื้นที่บางส่วนของสถานีรถไฟธนบุรีจำนวน 33 ไร่ จาก การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นั้นคณะฯเล็งเห็นว่า เพื่อให้วงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการการวิจัย การศึกษา และการบริการ ชั้นเลิศ คณะฯ จึงเสนอโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ต่อรัฐบาล จึงได้ วางแผนการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่สถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศฯ ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 7 โครงการ พิพิธภัณฑ์เป็นหนึ่งในโครงการย่อยเหล่านั้น 
ทั้งนี้คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ ในส่วน ของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชขึ้น เพื่อให้รับผิดชอบดูแลพิพิธภัณฑ์ต่างๆในศิริราชคณะอนุกรรมการฯได้ พิจารณาจัดตั้ง คณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่รวบรวมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ ภาควิชาและหน่วยงาน ต่างๆภายในโรงพยาบาลศิริราชเพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการ ซึ่งทั้งหมดรวมเรียกเป็นพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ในปัจจุบัน
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่  สถาบัน หน่วยงาน



4. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ชลบุรี)

ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นผืนป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดและผืนสุดท้ายของชลบุรี มีเนื้อที่ 300 ไร่ เปิดดำเนินการโดยความร่วมมือของกรมป่าไม้และองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
สำนัก งานป่าไม้จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลน และให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ประชาชน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นสะพานไม้ที่ยาว 2,300 เมตร ซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย
ตลอดเส้นทางความยาว 2,300 เมตร บนสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติของศูนย์ฯ  จะได้พบเห็นความหลากหลายทางธรรมชาติ ของป่าชายเลน ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนและสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ระหว่างทางจะมีศาลา ชีวภาพใต้น้ำ สะพานแขวน และมีบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนเป็นระยะๆ นักท่องเที่ยวจะได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
ศูนย์ศึกษา ธรรมชาติปาชายเลนแห่งนี้ อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว แสมดำ แสมขาว โปรงแดง โปรงขาว ลำพูน และพืชอีกหลายชนิด นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำอีกหลากหลายชนิด ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยนางรม หอยแครง ปูก้ามดาบ ปูแสม ปลานวลจันทร์ ปลากะพงขาว ปลาตีน และนกอีกนานาชนิด
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่  สถาบัน หน่วยงาน


5.ละลุดินแดนมหัศจรรย์
ละลุ เป็นภาษาเขมร แปลว่า ทะลุ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแต่มีพื้นที่กว้างกว่า 2,000 ไร่ ละลุ เกิดจากน้ำฝนกัดเซาะ ยุบตัวหรือพังทลายของดิน เนื่องจากสภาพดินแข็งจะคงอยู่ไม่ยุบตัวเมื่อถูกลมกัดกร่อนจึงมีลักษณะเป็นรูปต่างๆ มองคล้ายกำแพงเมือง หน้าผา บ้างมีลักษณะเป็นแท่งๆ จึงทำให้ละลุมีความสวยงามและแปลกตาแตกต่างกันตามจินตนาการของแต่ละคน อะไร ซึ่งในทุกๆปี ละลุจะเปลี่ยนรูปร่างของมันไปเรื่อยๆ ตามแต่ลมและฝนที่ช่วยกันตกแต่งชั้นดิน และในบางพื้นที่ก็จะมีละลุที่ขึ้นอยู่กลางพื้นที่ทำนาของชาวบ้านซึ่งสีน้ำตาลทองของละลุ ตัดกับสีเขียวสดของต้นข้าว เป็นสิ่งที่สวยงามมาก
เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น